บทความจาก http://www.dld.go.th/niah/AnimalDisease/cow_wart.htm
โรคหูด (Wart)
โรค หูดเป็นโรคติดต่อซึ่งมักพบในลูกโคอายุต่ำกว่า 2 ปี มากกว่าโคที่มีอายุมาก ความสูญเสียทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นได้ถ้าเกิดเป็นแบบกระจายทั่วตัว หรือเม็ดหูดมีขนาดใหญ่มากจนรบกวนหน้าที่ตามปกติของอวัยวะต่างๆ เช่น หูดบริเวณเต้านมจะทำให้เกิดเต้านมอักเสบ น้ำนมลดลง หูดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์จะทำให้เกิดปัญหาในการผสมพันธุ์ หูดบริเวณหัวและปากจะรบกวนการกินอาหาร ทำให้สัตว์ซูบผอมและเจริญเติบโตช้า คุณภาพของหนังสัตว์ลดลง หรือสัตว์อาจตายได้ถ้าพบเนื้องอกในส่วนหลอดอาหาร กระเพาะอาหารส่วนต้น และกระเพาะปัสสาวะ
สาเหตุและการติดต่อ
เกิดจาก ดี เอน เอ ไวรัส (DNA virus) ชื่อ แพบพิลโลม่าไวรัส (Papillomavirus)
โบวาย แพบพิลโลม่าไวรัส (Bovine Papillomavirus BPV) พบมี 6 ไทป์ (BPV1-6) ที่ทำให้เกิดหูดในส่วนต่างๆ ของร่างกายคือ
BPV 1 - ทำให้เกิดคิวเตเนียส ไฟโบรแพบพิลโลม่า (cutaneous fibropapilloma) บริเวณจมูก หัวนม และองคชาติ มักพบในลูกโค
BPV 2 - ทำให้เกิดคิวเตเนียส ไฟโบรแพบพิลโลม่า (cutaneous fibropapilloma) บริเวณใบหน้า หัว คอ อก เปลือกตา และบางครั้งที่ขาของลูกโค
BPV 3 - ทำให้เกิดคิวเตเนียส แพบพิลโลม่า (cutaneous papilloma) เป็นจุดสีขาวเล็กๆ เรียบบริเวณหัวนมและเต้านมในโคใหญ่
BPV 4 - ทำให้เกิดก้อนหูดในระบบทางเดินอาหาร (Alimentary tract papilloma) ก้อนหูดในกระเพาะปัสสาวะ (Urinary tract papilloma) ก้อนหูดที่ตา (ocular lesion) ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็งต่อไปได้ (Squamous cell carcinomas)
BPV 5 - เกิดเป็นหูดคล้ายเม็ดข้าวสาร (rice grain) บริเวณหัวนม (teat fibropapilloma)
BPV 6 - เกิดบริเวณหัวนม (teat papilloma) เป็นเม็ดกลมคล้ายลูกตุ้ม
เชื้อ ไวรัสตัวนี้จะติดต่อผ่านทางผิวหนังที่มีรอยขีดข่วนหรือผ่านเยื่อชุ่ม เป็นส่วนใหญ่ เช่น รอยตีตราติดเบอร์หู การตัดเขา และทางทวารหนักจากการตรวจท้อง เป็นต้น
อาการ
เกิด เป็นเม็ดหูดหลังการติดเชื้อ 4-6 สัปดาห์ ในลูกสัตว์จะเกิดหูดบริเวณหัว (รอบตา) คอและไหล่ ส่วนหูดบริเวณเต้านมและหัวนมจะพบในโคใหญ่ และอาจพบได้บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมีย ในระยะแรกเม็ดหูดจะมีขนาดเล็ก ผิวเรียบ ขนจะหลุดร่วงเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 1 ซม. ขึ้นไป แบะอาจกลายเป็นเม็ดหยาบแห้งหรือ เป็นก้อนคล้ายดอกกะหล่ำอยู่รวมกันเป็นก้อนเดียวหรือหลายก้อนก็ได้ โดยปรกติเม็ดหูดจะเกิดอยู่นาน 4-6 เดือนแล้วจะฝ่อหายไปได้เอง ยกเว้นเกิดจาก BPV 3 และ BPV 5 เม็ดหูดจะไม่สามารถฝ่อหายไปได้เอง
การรักษา มีหลายวิธี คือ
1. การรักษาโดยใช้ออโตจีนัส วัคซีน (Autogenous Vaccine) วิธีนี้แม้ว่าผลการรักษาจะยังไม่แน่นอน แต่ก็เป็นที่นิยมกันแพร่หลายในฟาร์มที่เกิดปัญหา วัคซีนเตรียมจากเนื้อหูดสดของโค นำมาบดผสมกับ น้ำเกลือ เตรียมเป็น 10-20% ซัสเพนชั่น (suspension) และอินแอคติเวท (inactivate) ด้วย 40% ฟอร์มาลิน (formalin) ในความเข้มข้น 0.4% และนำมาฉีดเข้าใต้หนังของโคตัวนั้นสัปดาห์ละ 1 ครั้งติดต่อกัน 3 สัปดาห์ ในขนาดครั้งละ 10, 15, 25 มิลลิลิตรตามลำดับ วิธีนี้เหมาะสำหรับการรักษาหูดที่กระจายทั่วตัว ซึ่งเม็ดหูดจะเริ่มฝ่อและหลุดออกไปภายใน 3-6 สัปดาห์
2. การรักษาด้วยวิธีศัลยกรรมโดยการตัดหูดออกและห้ามเลือดด้วยวิธีการที่เหมาะสม มักทำกรณีหูดมีขนาดเล็กและมีไม่มาก
3. การรักษาโดยการทำลายเนื้อเยื่อด้วยความเย็นจัด (Cryosurgery)
4. การรักษาโดยใช้สารเคมีจำพวก ทิงเจอร์ ไอโอดีน หรือ กรดอซิติค (glacial acetic acid) ทาบริเวณหูด
5. การรักษาโดยการฉีดสารลิเทียม แอนติมอนี่ ไทโอเมท (Lithium Antimony thiomate) 6% ขนาด 15 มิลลิลิตร จำนวน 4-6 ครั้ง ห่างกัน 48 ชั่วโมง เข้าใต้ผิวหนัง
การควบคุมและป้องกัน
ใน ฝูงที่มีการระบาดของโรคควรแยกตัวป่วยออก เพื่อทำการรักษา ส่วนตัวอื่นๆ อาจป้องกันโดยการใช้ออโตจีนัส วัคซีน (Autogenous Vaccine) ที่เตรียมจากสัตว์ตัวป่วย แต่อาจไม่ได้ผลในการป้องกันเต็มที่ ควรทำความสะอาดคอกสัตว์ อย่าให้มีสิ่งของแหลมคมซึ่งอาจขีดข่วนผิวหนังทำให้ติดเชื้อได้ง่าย และควรพ่นคอกด้วยยาฆ่าเชื้อต่างๆ กำจัดแมลงดูดเลือดหรือยุง ซึ่งอาจนำเชื้อมาสู่โคตัวอื่นได้
การเก็บตัวอย่างเพื่อเตรียมวัคซีนหูด
ตัด เนื้อหูดจากบริเวณที่เกิดใหม่ ยังไม่มีแผลติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย ก่อนการตัดไม่ควรทายาฆ่าเชื้อใดๆ ทั้งสิ้น เพราะจะทำลายเนื้อเยื่อที่มีเชื้อไวรัสอยู่ และจะล้างออกยากเพราะเตรียมเป็นวัคซีน เมื่อตัดหูดออกแล้วจึงทายาฆ่าเชื้อได้ตามปกติ ปริมาณเชื้อหูดที่ใช้ควรไม่ต่ำกว่า 5 กรัม (เตรียมวัคซีนได้ประมาณ 50 ซี.ซี.) นำมาใส่ในถุงพลาสติก หรือภาชนะที่สะอาด แช่น้ำแข็ง รีบนำส่งห้องปฏิบัติการ
>>> งานวิจัยโรคหูดในโค. . .click<<< --------------------------------- ที่มา ทัศนีย์ ชมภูจันทร์, มนัสนันนท์ ประสิทธิรัตน์ และมนยา เอกทัตร์ (บรรณาธิการ). 2539. คู่มือการดูแลสุขภาพโคนม" สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ. ฟันนี่พับบลิชิ่ง. ทัศนีย์ ชมภูจันทร์, สุรีย์ ธรรมศาสตร์, ปนันท์ ธนเจริญวัชร, จิรา คงครอง และเอกรินทร์ วัฒนพลาชัยกูร (บรรณาธิการ). 2539. คู่มือมาตรฐานการชันสูตรโรคสัตว์. สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ.โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. พุทธชาด ศรีโสภา และอุษา นาคสกุล. ผลของออโตจีนัสวัคซีนในการรักษาโรคหูดในโคเนื้อและโคนม. วารสารสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ ISSN 1905-5048 ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กันยายน - ธันวาคม 2551) หน้า 190-204.
กรณีศึกษาแพะที่สารสินฟาร์มเป็นหูด
รักษาดังนี้
1.ฉีดยาโซดาเพน
2.พ่นหูดด้วยทิงเจอไอโอดีน หรือน้ำเกลือ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Play the best casino games | DrMCD
ตอบลบWith so many 경상남도 출장안마 great casino games, you could win real 강원도 출장마사지 money! Play 영주 출장샵 the best 하랑 도메인 casino 세종특별자치 출장샵 games online, you could win real money! Play with REAL Money!