บทความจาก http://www.dld.go.th/niah/AnimalDisease/cow_wart.htm
โรคหูด (Wart)
โรค หูดเป็นโรคติดต่อซึ่งมักพบในลูกโคอายุต่ำกว่า 2 ปี มากกว่าโคที่มีอายุมาก ความสูญเสียทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นได้ถ้าเกิดเป็นแบบกระจายทั่วตัว หรือเม็ดหูดมีขนาดใหญ่มากจนรบกวนหน้าที่ตามปกติของอวัยวะต่างๆ เช่น หูดบริเวณเต้านมจะทำให้เกิดเต้านมอักเสบ น้ำนมลดลง หูดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์จะทำให้เกิดปัญหาในการผสมพันธุ์ หูดบริเวณหัวและปากจะรบกวนการกินอาหาร ทำให้สัตว์ซูบผอมและเจริญเติบโตช้า คุณภาพของหนังสัตว์ลดลง หรือสัตว์อาจตายได้ถ้าพบเนื้องอกในส่วนหลอดอาหาร กระเพาะอาหารส่วนต้น และกระเพาะปัสสาวะ
สาเหตุและการติดต่อ
เกิดจาก ดี เอน เอ ไวรัส (DNA virus) ชื่อ แพบพิลโลม่าไวรัส (Papillomavirus)
โบวาย แพบพิลโลม่าไวรัส (Bovine Papillomavirus BPV) พบมี 6 ไทป์ (BPV1-6) ที่ทำให้เกิดหูดในส่วนต่างๆ ของร่างกายคือ
BPV 1 - ทำให้เกิดคิวเตเนียส ไฟโบรแพบพิลโลม่า (cutaneous fibropapilloma) บริเวณจมูก หัวนม และองคชาติ มักพบในลูกโค
BPV 2 - ทำให้เกิดคิวเตเนียส ไฟโบรแพบพิลโลม่า (cutaneous fibropapilloma) บริเวณใบหน้า หัว คอ อก เปลือกตา และบางครั้งที่ขาของลูกโค
BPV 3 - ทำให้เกิดคิวเตเนียส แพบพิลโลม่า (cutaneous papilloma) เป็นจุดสีขาวเล็กๆ เรียบบริเวณหัวนมและเต้านมในโคใหญ่
BPV 4 - ทำให้เกิดก้อนหูดในระบบทางเดินอาหาร (Alimentary tract papilloma) ก้อนหูดในกระเพาะปัสสาวะ (Urinary tract papilloma) ก้อนหูดที่ตา (ocular lesion) ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็งต่อไปได้ (Squamous cell carcinomas)
BPV 5 - เกิดเป็นหูดคล้ายเม็ดข้าวสาร (rice grain) บริเวณหัวนม (teat fibropapilloma)
BPV 6 - เกิดบริเวณหัวนม (teat papilloma) เป็นเม็ดกลมคล้ายลูกตุ้ม
เชื้อ ไวรัสตัวนี้จะติดต่อผ่านทางผิวหนังที่มีรอยขีดข่วนหรือผ่านเยื่อชุ่ม เป็นส่วนใหญ่ เช่น รอยตีตราติดเบอร์หู การตัดเขา และทางทวารหนักจากการตรวจท้อง เป็นต้น
อาการ
เกิด เป็นเม็ดหูดหลังการติดเชื้อ 4-6 สัปดาห์ ในลูกสัตว์จะเกิดหูดบริเวณหัว (รอบตา) คอและไหล่ ส่วนหูดบริเวณเต้านมและหัวนมจะพบในโคใหญ่ และอาจพบได้บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมีย ในระยะแรกเม็ดหูดจะมีขนาดเล็ก ผิวเรียบ ขนจะหลุดร่วงเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 1 ซม. ขึ้นไป แบะอาจกลายเป็นเม็ดหยาบแห้งหรือ เป็นก้อนคล้ายดอกกะหล่ำอยู่รวมกันเป็นก้อนเดียวหรือหลายก้อนก็ได้ โดยปรกติเม็ดหูดจะเกิดอยู่นาน 4-6 เดือนแล้วจะฝ่อหายไปได้เอง ยกเว้นเกิดจาก BPV 3 และ BPV 5 เม็ดหูดจะไม่สามารถฝ่อหายไปได้เอง
การรักษา มีหลายวิธี คือ
1. การรักษาโดยใช้ออโตจีนัส วัคซีน (Autogenous Vaccine) วิธีนี้แม้ว่าผลการรักษาจะยังไม่แน่นอน แต่ก็เป็นที่นิยมกันแพร่หลายในฟาร์มที่เกิดปัญหา วัคซีนเตรียมจากเนื้อหูดสดของโค นำมาบดผสมกับ น้ำเกลือ เตรียมเป็น 10-20% ซัสเพนชั่น (suspension) และอินแอคติเวท (inactivate) ด้วย 40% ฟอร์มาลิน (formalin) ในความเข้มข้น 0.4% และนำมาฉีดเข้าใต้หนังของโคตัวนั้นสัปดาห์ละ 1 ครั้งติดต่อกัน 3 สัปดาห์ ในขนาดครั้งละ 10, 15, 25 มิลลิลิตรตามลำดับ วิธีนี้เหมาะสำหรับการรักษาหูดที่กระจายทั่วตัว ซึ่งเม็ดหูดจะเริ่มฝ่อและหลุดออกไปภายใน 3-6 สัปดาห์
2. การรักษาด้วยวิธีศัลยกรรมโดยการตัดหูดออกและห้ามเลือดด้วยวิธีการที่เหมาะสม มักทำกรณีหูดมีขนาดเล็กและมีไม่มาก
3. การรักษาโดยการทำลายเนื้อเยื่อด้วยความเย็นจัด (Cryosurgery)
4. การรักษาโดยใช้สารเคมีจำพวก ทิงเจอร์ ไอโอดีน หรือ กรดอซิติค (glacial acetic acid) ทาบริเวณหูด
5. การรักษาโดยการฉีดสารลิเทียม แอนติมอนี่ ไทโอเมท (Lithium Antimony thiomate) 6% ขนาด 15 มิลลิลิตร จำนวน 4-6 ครั้ง ห่างกัน 48 ชั่วโมง เข้าใต้ผิวหนัง
การควบคุมและป้องกัน
ใน ฝูงที่มีการระบาดของโรคควรแยกตัวป่วยออก เพื่อทำการรักษา ส่วนตัวอื่นๆ อาจป้องกันโดยการใช้ออโตจีนัส วัคซีน (Autogenous Vaccine) ที่เตรียมจากสัตว์ตัวป่วย แต่อาจไม่ได้ผลในการป้องกันเต็มที่ ควรทำความสะอาดคอกสัตว์ อย่าให้มีสิ่งของแหลมคมซึ่งอาจขีดข่วนผิวหนังทำให้ติดเชื้อได้ง่าย และควรพ่นคอกด้วยยาฆ่าเชื้อต่างๆ กำจัดแมลงดูดเลือดหรือยุง ซึ่งอาจนำเชื้อมาสู่โคตัวอื่นได้
การเก็บตัวอย่างเพื่อเตรียมวัคซีนหูด
ตัด เนื้อหูดจากบริเวณที่เกิดใหม่ ยังไม่มีแผลติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย ก่อนการตัดไม่ควรทายาฆ่าเชื้อใดๆ ทั้งสิ้น เพราะจะทำลายเนื้อเยื่อที่มีเชื้อไวรัสอยู่ และจะล้างออกยากเพราะเตรียมเป็นวัคซีน เมื่อตัดหูดออกแล้วจึงทายาฆ่าเชื้อได้ตามปกติ ปริมาณเชื้อหูดที่ใช้ควรไม่ต่ำกว่า 5 กรัม (เตรียมวัคซีนได้ประมาณ 50 ซี.ซี.) นำมาใส่ในถุงพลาสติก หรือภาชนะที่สะอาด แช่น้ำแข็ง รีบนำส่งห้องปฏิบัติการ
>>> งานวิจัยโรคหูดในโค. . .click<<< --------------------------------- ที่มา ทัศนีย์ ชมภูจันทร์, มนัสนันนท์ ประสิทธิรัตน์ และมนยา เอกทัตร์ (บรรณาธิการ). 2539. คู่มือการดูแลสุขภาพโคนม" สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ. ฟันนี่พับบลิชิ่ง. ทัศนีย์ ชมภูจันทร์, สุรีย์ ธรรมศาสตร์, ปนันท์ ธนเจริญวัชร, จิรา คงครอง และเอกรินทร์ วัฒนพลาชัยกูร (บรรณาธิการ). 2539. คู่มือมาตรฐานการชันสูตรโรคสัตว์. สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ.โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. พุทธชาด ศรีโสภา และอุษา นาคสกุล. ผลของออโตจีนัสวัคซีนในการรักษาโรคหูดในโคเนื้อและโคนม. วารสารสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ ISSN 1905-5048 ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กันยายน - ธันวาคม 2551) หน้า 190-204.
กรณีศึกษาแพะที่สารสินฟาร์มเป็นหูด
รักษาดังนี้
1.ฉีดยาโซดาเพน
2.พ่นหูดด้วยทิงเจอไอโอดีน หรือน้ำเกลือ
วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2552
แพะคางบวม
แพะคางบวม สาเหตุมาจากโลหิตจางทำให้เกิดอาการบวมน้ำใต้คาง ใต้ท้อง เหงือก หรือเปลือกตาจะซีด อาการคางบวมที่มักพบในรายที่เป็นพยาธิ สาเหตุเกิดจากการที่ตัวพยาธิดูดกินเลือดหรือบางชนิดแย่งอาหารัตว์ไปกิน ทำให้เกิดภาวะโปรตีนในเลือดต่ำ ทำให้ของเหลวไหลออกจากหลอดเลือดมารวมกันอยู่ในเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ในแพะก็ มักพบที่ใต้คางเป็นที่แรกๆ ถ้าปล่อยไว้นานอาจจะพบอาการท้องมารด้วย การใช้ยาถ่ายพยาธิไม่ได้มีผลโดยตรงที่จะทำให้อาการนี้หายไป ร่างกายไม่สามารถชดเชยภาวะโปรตีนในเลือดต่ำได้ด้วยตัเอง ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้ก็มีความจำเป็นที่จะต้องจัดการเรื่องการบำรุงดูแลในเรื่องอาหารโดยเน้นอาหารยาบที่มี คุณภาพดี อาหารข้นเสริมบ้างหรือต้องมีการเสริมวิตามิน แร่ธาตุที่สัตว์เสียไป
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)