วันอังคารที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2553
การถ่ายพยาธิในแพะแกะ
ถ่ายพยาธิในแพะแกะ
จากการเข้าอบรมการถ่ายพยาธิในแพะและแกะ กับชมรมส่งเสริมและพัฒนาพันธ์แพะแกะสระบุรี
มีคำแนะนำในการถ่ายพยาธิดังนี้
1.จัดทำโปรแกรมถ่ายพยาธิ
2.ไม่ถ่ายพยาธิในขณะที่แพะท้องได้ 1 เดือน จะทำให้แท้ง
3.ถ่ายพยาธิกล่อนคลอดได้ 1 เดือน
หมายเหตุจากประสบการณ์
สังเกตุจากขนของแพะเริ่มงอไม่มันแสดงว่ามีพยาธิ
หรือมีอาการบวมที่คางเปลือกตาขอบตาซีดอันนี้แรงอาจตายได้
*ถ่ายพยาธิในขณะที่แพะท้องได้ 1 เดือนทำให้แพะแท้งเพาะฤทธิยาถ่าย
*การถ่ายพยาธิก่อนแพะคลอด 1 เดือนก็ทำให้แพะแท้งได้เพราะเราต้องไล่จับแพะ(แท้งตอนไล่)
วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2552
โรคหูด (Wart)
บทความจาก http://www.dld.go.th/niah/AnimalDisease/cow_wart.htm
โรคหูด (Wart)
โรค หูดเป็นโรคติดต่อซึ่งมักพบในลูกโคอายุต่ำกว่า 2 ปี มากกว่าโคที่มีอายุมาก ความสูญเสียทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นได้ถ้าเกิดเป็นแบบกระจายทั่วตัว หรือเม็ดหูดมีขนาดใหญ่มากจนรบกวนหน้าที่ตามปกติของอวัยวะต่างๆ เช่น หูดบริเวณเต้านมจะทำให้เกิดเต้านมอักเสบ น้ำนมลดลง หูดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์จะทำให้เกิดปัญหาในการผสมพันธุ์ หูดบริเวณหัวและปากจะรบกวนการกินอาหาร ทำให้สัตว์ซูบผอมและเจริญเติบโตช้า คุณภาพของหนังสัตว์ลดลง หรือสัตว์อาจตายได้ถ้าพบเนื้องอกในส่วนหลอดอาหาร กระเพาะอาหารส่วนต้น และกระเพาะปัสสาวะ
สาเหตุและการติดต่อ
เกิดจาก ดี เอน เอ ไวรัส (DNA virus) ชื่อ แพบพิลโลม่าไวรัส (Papillomavirus)
โบวาย แพบพิลโลม่าไวรัส (Bovine Papillomavirus BPV) พบมี 6 ไทป์ (BPV1-6) ที่ทำให้เกิดหูดในส่วนต่างๆ ของร่างกายคือ
BPV 1 - ทำให้เกิดคิวเตเนียส ไฟโบรแพบพิลโลม่า (cutaneous fibropapilloma) บริเวณจมูก หัวนม และองคชาติ มักพบในลูกโค
BPV 2 - ทำให้เกิดคิวเตเนียส ไฟโบรแพบพิลโลม่า (cutaneous fibropapilloma) บริเวณใบหน้า หัว คอ อก เปลือกตา และบางครั้งที่ขาของลูกโค
BPV 3 - ทำให้เกิดคิวเตเนียส แพบพิลโลม่า (cutaneous papilloma) เป็นจุดสีขาวเล็กๆ เรียบบริเวณหัวนมและเต้านมในโคใหญ่
BPV 4 - ทำให้เกิดก้อนหูดในระบบทางเดินอาหาร (Alimentary tract papilloma) ก้อนหูดในกระเพาะปัสสาวะ (Urinary tract papilloma) ก้อนหูดที่ตา (ocular lesion) ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็งต่อไปได้ (Squamous cell carcinomas)
BPV 5 - เกิดเป็นหูดคล้ายเม็ดข้าวสาร (rice grain) บริเวณหัวนม (teat fibropapilloma)
BPV 6 - เกิดบริเวณหัวนม (teat papilloma) เป็นเม็ดกลมคล้ายลูกตุ้ม
เชื้อ ไวรัสตัวนี้จะติดต่อผ่านทางผิวหนังที่มีรอยขีดข่วนหรือผ่านเยื่อชุ่ม เป็นส่วนใหญ่ เช่น รอยตีตราติดเบอร์หู การตัดเขา และทางทวารหนักจากการตรวจท้อง เป็นต้น
อาการ
เกิด เป็นเม็ดหูดหลังการติดเชื้อ 4-6 สัปดาห์ ในลูกสัตว์จะเกิดหูดบริเวณหัว (รอบตา) คอและไหล่ ส่วนหูดบริเวณเต้านมและหัวนมจะพบในโคใหญ่ และอาจพบได้บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมีย ในระยะแรกเม็ดหูดจะมีขนาดเล็ก ผิวเรียบ ขนจะหลุดร่วงเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 1 ซม. ขึ้นไป แบะอาจกลายเป็นเม็ดหยาบแห้งหรือ เป็นก้อนคล้ายดอกกะหล่ำอยู่รวมกันเป็นก้อนเดียวหรือหลายก้อนก็ได้ โดยปรกติเม็ดหูดจะเกิดอยู่นาน 4-6 เดือนแล้วจะฝ่อหายไปได้เอง ยกเว้นเกิดจาก BPV 3 และ BPV 5 เม็ดหูดจะไม่สามารถฝ่อหายไปได้เอง
การรักษา มีหลายวิธี คือ
1. การรักษาโดยใช้ออโตจีนัส วัคซีน (Autogenous Vaccine) วิธีนี้แม้ว่าผลการรักษาจะยังไม่แน่นอน แต่ก็เป็นที่นิยมกันแพร่หลายในฟาร์มที่เกิดปัญหา วัคซีนเตรียมจากเนื้อหูดสดของโค นำมาบดผสมกับ น้ำเกลือ เตรียมเป็น 10-20% ซัสเพนชั่น (suspension) และอินแอคติเวท (inactivate) ด้วย 40% ฟอร์มาลิน (formalin) ในความเข้มข้น 0.4% และนำมาฉีดเข้าใต้หนังของโคตัวนั้นสัปดาห์ละ 1 ครั้งติดต่อกัน 3 สัปดาห์ ในขนาดครั้งละ 10, 15, 25 มิลลิลิตรตามลำดับ วิธีนี้เหมาะสำหรับการรักษาหูดที่กระจายทั่วตัว ซึ่งเม็ดหูดจะเริ่มฝ่อและหลุดออกไปภายใน 3-6 สัปดาห์
2. การรักษาด้วยวิธีศัลยกรรมโดยการตัดหูดออกและห้ามเลือดด้วยวิธีการที่เหมาะสม มักทำกรณีหูดมีขนาดเล็กและมีไม่มาก
3. การรักษาโดยการทำลายเนื้อเยื่อด้วยความเย็นจัด (Cryosurgery)
4. การรักษาโดยใช้สารเคมีจำพวก ทิงเจอร์ ไอโอดีน หรือ กรดอซิติค (glacial acetic acid) ทาบริเวณหูด
5. การรักษาโดยการฉีดสารลิเทียม แอนติมอนี่ ไทโอเมท (Lithium Antimony thiomate) 6% ขนาด 15 มิลลิลิตร จำนวน 4-6 ครั้ง ห่างกัน 48 ชั่วโมง เข้าใต้ผิวหนัง
การควบคุมและป้องกัน
ใน ฝูงที่มีการระบาดของโรคควรแยกตัวป่วยออก เพื่อทำการรักษา ส่วนตัวอื่นๆ อาจป้องกันโดยการใช้ออโตจีนัส วัคซีน (Autogenous Vaccine) ที่เตรียมจากสัตว์ตัวป่วย แต่อาจไม่ได้ผลในการป้องกันเต็มที่ ควรทำความสะอาดคอกสัตว์ อย่าให้มีสิ่งของแหลมคมซึ่งอาจขีดข่วนผิวหนังทำให้ติดเชื้อได้ง่าย และควรพ่นคอกด้วยยาฆ่าเชื้อต่างๆ กำจัดแมลงดูดเลือดหรือยุง ซึ่งอาจนำเชื้อมาสู่โคตัวอื่นได้
การเก็บตัวอย่างเพื่อเตรียมวัคซีนหูด
ตัด เนื้อหูดจากบริเวณที่เกิดใหม่ ยังไม่มีแผลติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย ก่อนการตัดไม่ควรทายาฆ่าเชื้อใดๆ ทั้งสิ้น เพราะจะทำลายเนื้อเยื่อที่มีเชื้อไวรัสอยู่ และจะล้างออกยากเพราะเตรียมเป็นวัคซีน เมื่อตัดหูดออกแล้วจึงทายาฆ่าเชื้อได้ตามปกติ ปริมาณเชื้อหูดที่ใช้ควรไม่ต่ำกว่า 5 กรัม (เตรียมวัคซีนได้ประมาณ 50 ซี.ซี.) นำมาใส่ในถุงพลาสติก หรือภาชนะที่สะอาด แช่น้ำแข็ง รีบนำส่งห้องปฏิบัติการ
>>> งานวิจัยโรคหูดในโค. . .click<<< --------------------------------- ที่มา ทัศนีย์ ชมภูจันทร์, มนัสนันนท์ ประสิทธิรัตน์ และมนยา เอกทัตร์ (บรรณาธิการ). 2539. คู่มือการดูแลสุขภาพโคนม" สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ. ฟันนี่พับบลิชิ่ง. ทัศนีย์ ชมภูจันทร์, สุรีย์ ธรรมศาสตร์, ปนันท์ ธนเจริญวัชร, จิรา คงครอง และเอกรินทร์ วัฒนพลาชัยกูร (บรรณาธิการ). 2539. คู่มือมาตรฐานการชันสูตรโรคสัตว์. สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ.โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. พุทธชาด ศรีโสภา และอุษา นาคสกุล. ผลของออโตจีนัสวัคซีนในการรักษาโรคหูดในโคเนื้อและโคนม. วารสารสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ ISSN 1905-5048 ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กันยายน - ธันวาคม 2551) หน้า 190-204.
กรณีศึกษาแพะที่สารสินฟาร์มเป็นหูด
รักษาดังนี้
1.ฉีดยาโซดาเพน
2.พ่นหูดด้วยทิงเจอไอโอดีน หรือน้ำเกลือ
โรคหูด (Wart)
โรค หูดเป็นโรคติดต่อซึ่งมักพบในลูกโคอายุต่ำกว่า 2 ปี มากกว่าโคที่มีอายุมาก ความสูญเสียทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นได้ถ้าเกิดเป็นแบบกระจายทั่วตัว หรือเม็ดหูดมีขนาดใหญ่มากจนรบกวนหน้าที่ตามปกติของอวัยวะต่างๆ เช่น หูดบริเวณเต้านมจะทำให้เกิดเต้านมอักเสบ น้ำนมลดลง หูดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์จะทำให้เกิดปัญหาในการผสมพันธุ์ หูดบริเวณหัวและปากจะรบกวนการกินอาหาร ทำให้สัตว์ซูบผอมและเจริญเติบโตช้า คุณภาพของหนังสัตว์ลดลง หรือสัตว์อาจตายได้ถ้าพบเนื้องอกในส่วนหลอดอาหาร กระเพาะอาหารส่วนต้น และกระเพาะปัสสาวะ
สาเหตุและการติดต่อ
เกิดจาก ดี เอน เอ ไวรัส (DNA virus) ชื่อ แพบพิลโลม่าไวรัส (Papillomavirus)
โบวาย แพบพิลโลม่าไวรัส (Bovine Papillomavirus BPV) พบมี 6 ไทป์ (BPV1-6) ที่ทำให้เกิดหูดในส่วนต่างๆ ของร่างกายคือ
BPV 1 - ทำให้เกิดคิวเตเนียส ไฟโบรแพบพิลโลม่า (cutaneous fibropapilloma) บริเวณจมูก หัวนม และองคชาติ มักพบในลูกโค
BPV 2 - ทำให้เกิดคิวเตเนียส ไฟโบรแพบพิลโลม่า (cutaneous fibropapilloma) บริเวณใบหน้า หัว คอ อก เปลือกตา และบางครั้งที่ขาของลูกโค
BPV 3 - ทำให้เกิดคิวเตเนียส แพบพิลโลม่า (cutaneous papilloma) เป็นจุดสีขาวเล็กๆ เรียบบริเวณหัวนมและเต้านมในโคใหญ่
BPV 4 - ทำให้เกิดก้อนหูดในระบบทางเดินอาหาร (Alimentary tract papilloma) ก้อนหูดในกระเพาะปัสสาวะ (Urinary tract papilloma) ก้อนหูดที่ตา (ocular lesion) ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็งต่อไปได้ (Squamous cell carcinomas)
BPV 5 - เกิดเป็นหูดคล้ายเม็ดข้าวสาร (rice grain) บริเวณหัวนม (teat fibropapilloma)
BPV 6 - เกิดบริเวณหัวนม (teat papilloma) เป็นเม็ดกลมคล้ายลูกตุ้ม
เชื้อ ไวรัสตัวนี้จะติดต่อผ่านทางผิวหนังที่มีรอยขีดข่วนหรือผ่านเยื่อชุ่ม เป็นส่วนใหญ่ เช่น รอยตีตราติดเบอร์หู การตัดเขา และทางทวารหนักจากการตรวจท้อง เป็นต้น
อาการ
เกิด เป็นเม็ดหูดหลังการติดเชื้อ 4-6 สัปดาห์ ในลูกสัตว์จะเกิดหูดบริเวณหัว (รอบตา) คอและไหล่ ส่วนหูดบริเวณเต้านมและหัวนมจะพบในโคใหญ่ และอาจพบได้บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมีย ในระยะแรกเม็ดหูดจะมีขนาดเล็ก ผิวเรียบ ขนจะหลุดร่วงเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 1 ซม. ขึ้นไป แบะอาจกลายเป็นเม็ดหยาบแห้งหรือ เป็นก้อนคล้ายดอกกะหล่ำอยู่รวมกันเป็นก้อนเดียวหรือหลายก้อนก็ได้ โดยปรกติเม็ดหูดจะเกิดอยู่นาน 4-6 เดือนแล้วจะฝ่อหายไปได้เอง ยกเว้นเกิดจาก BPV 3 และ BPV 5 เม็ดหูดจะไม่สามารถฝ่อหายไปได้เอง
การรักษา มีหลายวิธี คือ
1. การรักษาโดยใช้ออโตจีนัส วัคซีน (Autogenous Vaccine) วิธีนี้แม้ว่าผลการรักษาจะยังไม่แน่นอน แต่ก็เป็นที่นิยมกันแพร่หลายในฟาร์มที่เกิดปัญหา วัคซีนเตรียมจากเนื้อหูดสดของโค นำมาบดผสมกับ น้ำเกลือ เตรียมเป็น 10-20% ซัสเพนชั่น (suspension) และอินแอคติเวท (inactivate) ด้วย 40% ฟอร์มาลิน (formalin) ในความเข้มข้น 0.4% และนำมาฉีดเข้าใต้หนังของโคตัวนั้นสัปดาห์ละ 1 ครั้งติดต่อกัน 3 สัปดาห์ ในขนาดครั้งละ 10, 15, 25 มิลลิลิตรตามลำดับ วิธีนี้เหมาะสำหรับการรักษาหูดที่กระจายทั่วตัว ซึ่งเม็ดหูดจะเริ่มฝ่อและหลุดออกไปภายใน 3-6 สัปดาห์
2. การรักษาด้วยวิธีศัลยกรรมโดยการตัดหูดออกและห้ามเลือดด้วยวิธีการที่เหมาะสม มักทำกรณีหูดมีขนาดเล็กและมีไม่มาก
3. การรักษาโดยการทำลายเนื้อเยื่อด้วยความเย็นจัด (Cryosurgery)
4. การรักษาโดยใช้สารเคมีจำพวก ทิงเจอร์ ไอโอดีน หรือ กรดอซิติค (glacial acetic acid) ทาบริเวณหูด
5. การรักษาโดยการฉีดสารลิเทียม แอนติมอนี่ ไทโอเมท (Lithium Antimony thiomate) 6% ขนาด 15 มิลลิลิตร จำนวน 4-6 ครั้ง ห่างกัน 48 ชั่วโมง เข้าใต้ผิวหนัง
การควบคุมและป้องกัน
ใน ฝูงที่มีการระบาดของโรคควรแยกตัวป่วยออก เพื่อทำการรักษา ส่วนตัวอื่นๆ อาจป้องกันโดยการใช้ออโตจีนัส วัคซีน (Autogenous Vaccine) ที่เตรียมจากสัตว์ตัวป่วย แต่อาจไม่ได้ผลในการป้องกันเต็มที่ ควรทำความสะอาดคอกสัตว์ อย่าให้มีสิ่งของแหลมคมซึ่งอาจขีดข่วนผิวหนังทำให้ติดเชื้อได้ง่าย และควรพ่นคอกด้วยยาฆ่าเชื้อต่างๆ กำจัดแมลงดูดเลือดหรือยุง ซึ่งอาจนำเชื้อมาสู่โคตัวอื่นได้
การเก็บตัวอย่างเพื่อเตรียมวัคซีนหูด
ตัด เนื้อหูดจากบริเวณที่เกิดใหม่ ยังไม่มีแผลติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย ก่อนการตัดไม่ควรทายาฆ่าเชื้อใดๆ ทั้งสิ้น เพราะจะทำลายเนื้อเยื่อที่มีเชื้อไวรัสอยู่ และจะล้างออกยากเพราะเตรียมเป็นวัคซีน เมื่อตัดหูดออกแล้วจึงทายาฆ่าเชื้อได้ตามปกติ ปริมาณเชื้อหูดที่ใช้ควรไม่ต่ำกว่า 5 กรัม (เตรียมวัคซีนได้ประมาณ 50 ซี.ซี.) นำมาใส่ในถุงพลาสติก หรือภาชนะที่สะอาด แช่น้ำแข็ง รีบนำส่งห้องปฏิบัติการ
>>> งานวิจัยโรคหูดในโค. . .click<<< --------------------------------- ที่มา ทัศนีย์ ชมภูจันทร์, มนัสนันนท์ ประสิทธิรัตน์ และมนยา เอกทัตร์ (บรรณาธิการ). 2539. คู่มือการดูแลสุขภาพโคนม" สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ. ฟันนี่พับบลิชิ่ง. ทัศนีย์ ชมภูจันทร์, สุรีย์ ธรรมศาสตร์, ปนันท์ ธนเจริญวัชร, จิรา คงครอง และเอกรินทร์ วัฒนพลาชัยกูร (บรรณาธิการ). 2539. คู่มือมาตรฐานการชันสูตรโรคสัตว์. สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ.โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. พุทธชาด ศรีโสภา และอุษา นาคสกุล. ผลของออโตจีนัสวัคซีนในการรักษาโรคหูดในโคเนื้อและโคนม. วารสารสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ ISSN 1905-5048 ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กันยายน - ธันวาคม 2551) หน้า 190-204.
กรณีศึกษาแพะที่สารสินฟาร์มเป็นหูด
รักษาดังนี้
1.ฉีดยาโซดาเพน
2.พ่นหูดด้วยทิงเจอไอโอดีน หรือน้ำเกลือ
แพะคางบวม
แพะคางบวม สาเหตุมาจากโลหิตจางทำให้เกิดอาการบวมน้ำใต้คาง ใต้ท้อง เหงือก หรือเปลือกตาจะซีด อาการคางบวมที่มักพบในรายที่เป็นพยาธิ สาเหตุเกิดจากการที่ตัวพยาธิดูดกินเลือดหรือบางชนิดแย่งอาหารัตว์ไปกิน ทำให้เกิดภาวะโปรตีนในเลือดต่ำ ทำให้ของเหลวไหลออกจากหลอดเลือดมารวมกันอยู่ในเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ในแพะก็ มักพบที่ใต้คางเป็นที่แรกๆ ถ้าปล่อยไว้นานอาจจะพบอาการท้องมารด้วย การใช้ยาถ่ายพยาธิไม่ได้มีผลโดยตรงที่จะทำให้อาการนี้หายไป ร่างกายไม่สามารถชดเชยภาวะโปรตีนในเลือดต่ำได้ด้วยตัเอง ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้ก็มีความจำเป็นที่จะต้องจัดการเรื่องการบำรุงดูแลในเรื่องอาหารโดยเน้นอาหารยาบที่มี คุณภาพดี อาหารข้นเสริมบ้างหรือต้องมีการเสริมวิตามิน แร่ธาตุที่สัตว์เสียไป
วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2552
หูด ในะ แพะและแกะ
หูด (warts, cutaneous papillomatosis) จาก papovavirus
ตำแหน่งที่พบได้แก่หน้า หัว ใบหู เต้านม อาจดูคล้ายคลึงกับ scabby mouth แต่หูดในแพะมักไม่หายเองแตกต่างจากสัตว์เลี้ยงทั่วไป การติดต่อเป็นไปได้ง่ายในคอกที่เลี้ยงหนาแน่น การรักษาอาจใช้ autogenous vaccine หรือจี้ทำลาย โรคนี้สามารถติดคนได้
กรณีศึกษาแพะที่สารสินฟาร์มเป็นหูด
รักษาดังนี้
1.ฉีดยาโซดาเพน
2.พ่นหูดด้วยทิงเจอไอโอดีน หรือน้ำเกลือ
ตำแหน่งที่พบได้แก่หน้า หัว ใบหู เต้านม อาจดูคล้ายคลึงกับ scabby mouth แต่หูดในแพะมักไม่หายเองแตกต่างจากสัตว์เลี้ยงทั่วไป การติดต่อเป็นไปได้ง่ายในคอกที่เลี้ยงหนาแน่น การรักษาอาจใช้ autogenous vaccine หรือจี้ทำลาย โรคนี้สามารถติดคนได้
กรณีศึกษาแพะที่สารสินฟาร์มเป็นหูด
รักษาดังนี้
1.ฉีดยาโซดาเพน
2.พ่นหูดด้วยทิงเจอไอโอดีน หรือน้ำเกลือ
วันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2552
โรคบิดในแพะและแกะ (Coccidiosis of Goats and Sheep)
โรคบิดในแพะและแกะ (Coccidiosis of Goats and Sheep)
สาเหตุของโรค : เกิดจากเชื้อโปรโตซัว Eimeria
การติดต่อของโรค
เชื้อบิด (coccidian) เป็นโปรโตซัวที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียได้เป็นประจำในแพะและแกะ โดยเฉพาะในสัตว์ที่อายุน้อยจะมีง่ายต่อการติดโรคและเกิดอาการรุนแรง โรค บิดอาจเป็นสาเหตุของความสูญเสียในสัตว์ที่ต้องการผลผลิตแบบที่ไม่แสดงอาการ ให้เห็นชัดเจน อาการของโรคมักพบในขณะที่สัตว์เกิดความเครียด ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสารอาหาร อากาศเปลี่ยนแปลง ขณะตั้งท้อง ขณะหย่านม เมื่อมีการทำงานกับตัวสัตว์ (เช่น ตัดเขา หรือจี้เขา ทำวัคซีน เจาะเลือด) โดยพบโรคนี้ได้เป็นประจำในฝูง เชื้อโปรโตซัว ได้แก่ Eimeria พบ ทั้งในแพะและแกะ และมีความจำเพาะต่อโฮสต์ เชื้อบิดจะเปลี่ยนแปลงเป็นระยะติดต่อนอกตัวโฮสต์ โดยอาศัยอุณหภูมิที่เหมาะสมและความชื้นสูง ระยะ oocyst เป็นระยะติดต่อของโรคบิด โดยเชื้อในระยะนี้สามารถอยู่ในสภาพแวดล้อมได้นานในอุณหภูมิที่แตกต่างกันได้ เป็นปี
อาการของโรคบิด
ลูกแพะและแกะ อายุตั้งแต่ 1-4 เดือน จะเป็นอายุที่อ่อนไหวต่อการติดโรค เป็นช่วงที่ทำให้เกิดโรคอย่างรุนแรงและเกิดความเสียหายต่อการผลิตสัตว์ อาการ ของโรคมักจะพบได้บ่อยในกรณีที่สัตว์เกิดอาการเครียดในช่วงหย่านม เปลี่ยนอาหาร หรือมีการเคลื่อนย้าย การเลี้ยงสัตว์ในสภาพที่แออัดที่อาจทำให้สัตว์มีการปนเปื้อนจากอุจจาระและ ปัสสาวะ ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้การเปลี่ยนแปลงของ oocyst เป็นระยะติดต่อโดยสมบูรณ์เกิดขึ้น ในกรณีนี้จะพบว่าสัตว์ติดเชื้อเป็นจำนวนมากและแสดงอาการท้องเสีย
อาการ ท้องเสียในลูกแพะและแกะ โดยปกติจะไม่พบเลือด แต่อาจจะมีมูกเลือดและถ่ายเหลว สัตว์จะแสดงอาการเบื่ออาหาร ขาดน้ำ ไม่มีแรง ขนหยาบ และอาจตายได้ อาการที่พบมักเป็นแบบเรื้อรัง สัตว์จะมีน้ำหนักตัวลดลง และมีอาการท้องเสียเป็นระยะเวลานาน อาจเกิดอาการยื่นของลำไส้ใหญ่ (rectal prolapse) ในกรณีที่โรคมีความรุนแรงมาก ลำไส้ใหญ่ส่วนปลายที่ยื่นอ อกมาอาจเกิดเนื้อตายในส่วนของเนื้อเยื่อเมือก แม้ว่าสัตว์จะได้รับยาที่เหมาะสม อาการท้องเสียจะยังคงมีอยู่จนกว่าเนื้อเยื่อลำไส้จะฟื้นตัว ซึ่งอาจใช้เวลาหลายวันจนถึงสัปดาห์ แม้ว่าสัตว์จะฟื้นตัวจากโรค แต่การเจริญเติบโตจะต่ำกว่าปกติ เนื่องจากพื้นที่ของลำไส้ที่เสียหายจากโรค ทำให้การดูดซึมอาหารลดลง
การตรวจวินิจฉัย
โรค บิดแบบเฉียบพลันสามารถตรวจวินิจฉัยได้ง่าย โดยสามารถดูจากอุจจาระที่ป้ายบนแผ่นสไลด์ตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ เนื่องจากกรณีที่เกิดโรคแบบเฉียบพลันมักจะพบเชื้อระยะ oocyst จำนวน มาก ในขณะที่ถ้าเป็นกรณีเกิดโรคแบบเรื้อรัง จะพบเชื้อในจำนวนน้อย โดยทั่ว ๆ ไปสัตว์ปกติจะสามารถตรวจพบเชื้อบิดได้ในจำนวนน้อยอยู่แล้ว การที่จะวินิจฉัยว่าสัตว์มีการติดเชื้อแบบเรื้อรังจากอุจจาระ จะต้องทำพร้อมกับการสังเกตอาการท้องเสีย และอาจจะต้องดูค่าเลือดในส่วนของค่า haematocrit และการเกิดสภาพ hypoproteinemia
การรักษา
การ รักษาสัตว์ป่วยที่มีอาการจากโรคบิด จะต้องใช้ยาฆ่าเชื้อบิดร่วมกับการให้ยาตามอาการ การรักษาควรให้ยากับสัตว์ทุกตัวในกลุ่มพร้อมกัน การใช้ยาในกลุ่ม coccidiostats ให้ผลเล็กน้อยต่อการกำจัดเชื้อโดยสมบูรณ์ แต่มีประโยชน์ในการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ โดยส่วนใหญ่ยาในกลุ่ม coccidiostats ยับยั้ง การเจริญเปลี่ยนแปลงของเชื้อบิด และสามารถใช้ป้องกันโรคได้ ยาในกลุ่มนี้จะมีประโยชน์น้อย ถ้าสัตว์ได้แสดงอาการของโรคแล้ว ยาในกลุ่ม Sulfa พบ ว่าจะมีส่วนช่วยลดอาการของโรคได้ดี แต่ไม่ค่อยมีผลต่อโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่เกิดร่วมด้วย เช่น เชื้อแบคทีเรีย เนื่องจากเชื้อบิดสามารถพัฒนาการดื้อต่อยาในกลุ่ม coccidiostat ได้ การใช้ยาในกลุ่มนี้จึงควรให้ต่อเมื่อสัตว์อยู่ในสภาพเครียด (ได้แก่ การขนส่ง การหย่านม การคลอด) ยาในกลุ่ม coccidiostats ที่ใช้ในการรักษาและป้องกันโรค coccidiosis ในแพะและแกะ
1. Lasalocid ขนาด 20-30 กรัม ต่อ ตัน (ผสมอาหาร) หรือ 0.5 – 1 มก/กก น้ำหนักตัวต่อวัน ใช้ในแกะให้ติดต่อกัน 4 สัปดาห์
2. Decoquinate ขนาด 0.5 มก ต่อ กก (น้ำหนักตัว) ต่อวัน ใช้ในการรักษาและป้องกันในแพะให้ติดต่อกัน 4 สัปดาห์
3. Monensin ขนาด 10-30 กรัม ต่อ ตัน (ผสมอาหาร) ต่อวันใช้ในการรักษาและป้องกันโรคในแพะให้ติดต่อกัน 4 สัปดาห์
4. Amprolium ขนาด 50 มก ต่อ กก (น้ำหนักตัว) ต่อวัน เป็นเวลา 21 วัน ใช้ได้ทั้งในแพะและแกะ
5. Sulfaquinoxaline ขนาด 13 มก ต่อ กก (น้ำหนักตัว) ต่อวัน หรือผสมน้ำในความเข้มข้นร้อยละ 0.015 ให้เป็นเวลา 3-5 วัน ใช้รักษาในแกะ หรือให้ติดต่อกัน 4 สัปดาห์
6. Sulfamethazine ขนาด 11- - 238 มก ต่อ กก (น้ำหนักตัว) ต่อวันในแกะและขนาด 50 กรัม ต่อ ตัน (ผสมอาหาร) ในแพะให้ ติดต่อกัน 4 สัปดาห์
7. Salinomycin ขนาด 382 กรัม ต่อ ตัน (ผสมอาหาร) ในแพะให้ติดต่อกัน 4 สัปดาห์
การควบคุมและป้องกัน
การควบคุมโรคบิดให้ได้ผลดีโดยการปรับปรุงความสะอาดร่วมกับการใช้ยาในกลุ่ม coccidiostats และมาตรการอื่น ๆ ได้แก่
(1) ป้องกันอย่าให้จำนวนสัตว์ต่อคอกหนาแน่นเกินไป ซึ่งจะทำให้สัตว์มีโอกาสได้รับเชื้อจากการปนเปื้อนในคอก
(2) เปิดให้แสงแดดส่องผ่านคอก เพื่อทำคอกให้แห้ง ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญในการฆ่าเชื้อระยะ oocyst หรือทำให้ oocyst ไม่สามารถพัฒนาต่อจนเป็นระยะติดต่อไป
(3) ลดการทำให้เกิดอาการเครียดในสัตว์ และการปรับสารอาหารที่สัตว์จะได้รับมีส่วนสำคัญของการเกิดโรค
(4) การใช้ยา coccidiostat ใน การควบคุมโรคติดต่อกัน 4 สัปดาห์ เพื่อควบคุมอาการของโรคไม่ให้แสดงอย่างเต็มที่ ในขณะเดียวกันสัตว์จะเริ่มพัฒนาภูมิคุ้มกันต่อโรคบิดขึ้นมาป้องกันตัวเอง แต่อย่างไรก็ตามเชื้อบิดมีโอกาสที่จะเกิดความต้านทานต่อยาควบคุมบิด การตรวจอุจจาระเป็นระยะ ๆ หลังจากให้ยา จะช่วยสังเกตได้ว่าเชื้อเริ่มมีการดื้อต่อยาเกิดขึ้นหรือไม่ การใช้ยาควบคุมบิดเป็นประจำตลอดทั้งปีจะทำให้ มีโอกาสเกิดการดื้อต่อยาได้เร็วขึ้น
*****************************************************************************
เชื้อบิด
ทำ อันตรายรุนแรงต่อสัตว์อายุน้อย สัตว์โตจะค่อนข้างทนทานต่อโรค ลูกแพะเสี่ยงต่อโรคโดยมักเกิดความรุนแรงในช่วงหย่านม ถ่ายเป็นมูกเลือด หรือตายโดยไม่ทันแสดงอาการให้สังเกต หรืออาจไม่มีอาการชัดเจน โดยอาจเป็นเพียงอาการโตช้า น้ำหนักลด
การรักษา
1.ให้สารน้ำชดเชยการสูญเสียน้ำ
2.ให้ยาปฏิชีวนะ
3.ให้ยาฆ่าเชื้อบิดตัวใดตัวหนึ่ง
-----sulfadimethazone 75 มก./กก. กิน 4-5 วัน,
-----sulfamethazine 1.1-2.2 กรัม/กก. กิน 4 วัน,
-----nitrofurazone 10-20 มก./กก. กิน 5-7 วัน,
-----amprolium 10-20 มก./กก. กิน 3-5 วัน,
-----Toltrazuril 20 มก./กก.กินครั้งเดียว
ยารักษาโรคบิดในแพะและการจัดการ
อาการ เป็นบิดในแพะ ถ้าแพะไม่ตายเสียก่อน แพะจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันและสามารถหายเองได้แพะจะไม่แสดงอาการท้องเสีย อีก แต่แพะตัวที่หายป่วยแล้วจะเป็นตัวการสำคัญในการแพร่กระจายเชื้อ ดังนั้นถ้าสังเกตุเห็นอาการแรกเริ่มแล้วเริ่มแยกแพะตัวสงสัยออกจะช่วยลดการ แพร่กระจายเชื้อได้
เมื่อ เริ่มมีการระบาดควรจัดการให้ฝูงแพะมีขนาดเล็กลง อาจจะแยกคอกย่อย หรือหาคอกว่างๆเพิ่มขึ้น รางน้ำรางอาหารถ้าเป็นไปได้ให้เปลี่ยนใหม่หมดเพื่อลดไม่ให้มีอุจจาระแพะปน เปื้อนและควรเป็นแบบที่แพะไม่สามารถเดินบนรางอาหารได้ การให้อาหารกับพื้นดินควรงด วัสดุปูรองต่างๆให้เปลี่ยนให้ถี่ขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มแพะเล็ก หรือแม่แพะเลี้ยงลูก อย่างไรก็ตามในกรณีที่แพะแสดงอาการรุนแรงสามารถเลือกให้ยาเพื่อการรักษาได้ใน รายที่มีอาการควรให้ยาปฎิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้ออื่นๆแทรกซ้อน ยาเคลือบลำไส้เช่น Kaolin pectin (มีขายตามร้านยาคน ถ้าจะให้ดีซื้อยกแกลลอนจะถูกกว่า) ควรให้คู่กันเพื่อลดการสูญเสียน้ำ ในรายที่เสียน้ำมากๆควรให้น้ำเกลือร่วมด้วยยา ปฎิชีวนะที่ควรเลือกใช้ควรจะเป็นกลุ่มซัลฟา เนื่องจากมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเพิ่มปริมาณเชื้อในร่างกายแพะและป้องกัน เชื้ออื่นแทรกซ้อน แล้วให้แพะมีการการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเพื่อรักษาตัวเอง แต่ยากลุ่มนี้มีการใช้มานานกว่า50ปีแล้วบางกรณีเชื้ออาจมีการดื้อยา การเลือกใช้ยาร่วมกันระหว่างกลุ่มซัลฟา(เช่น sulfamethazine, sulfaquinoxaline) กับionophores(เช่นmonensin, lasalocid) อาจจะให้ผลดีกว่าแต่ ในความเป็นจริงยากลุ่มionophores(เช่นmonensin, lasalocid) มี ราคาค่อนข้างแพงเผลอๆ บ้านเราไม่มีขายด้วย การใช้ยาซัลฟาคุณภาพดีและใช้ต่อเนื่องกันแบบครบโด๊ส ก็พอช่วยได้บ้าง มียาอีกกลุ่มหนึ่งที่มีการใช้ควบคุมบิดในไก่เช่น Amprolium ก็พอใช้ได้เป็นแบบละลายน้ำ(แต่ปัจจุบันรู้สึกว่าจะไม่มีขายในบ้านเรามา 5-6ปีแล้ว) ยากลุ่มที่พอมีขายในบ้านเราและพอใช้ได้ คือ Toltrazurilแต่ราคาแพงมาก แนะนำใช้ในลูกแพะเ หมาะสำหรับฟาร์มที่ขายพันธ์ โดสที่ใช้ 25มก/กก ถ้าใช้แบบ 2.5% ก็ประมาณ 1ซีซี/ กก ถ้าจะให้ดีควรให้กับลูกแพะอายุประมาณ2สัปดาห์
กรณีศึกษาโรคบิดในแพะและแกะที่สารสินฟาร์ม
รักษาดังนี้
1.ทำความสะอาดโรงเรือน
2.ใช้ยาแก้บิดที่ใช้กับคน
ปัญหาที่สารสินฟาร์มเกิดจาก
1.แพะดื่มน้ำไม่สะอาด
2.เกิดจากความเครียด(อยู่กันอย่างแออัด)
สาเหตุของโรค : เกิดจากเชื้อโปรโตซัว Eimeria
การติดต่อของโรค
เชื้อบิด (coccidian) เป็นโปรโตซัวที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียได้เป็นประจำในแพะและแกะ โดยเฉพาะในสัตว์ที่อายุน้อยจะมีง่ายต่อการติดโรคและเกิดอาการรุนแรง โรค บิดอาจเป็นสาเหตุของความสูญเสียในสัตว์ที่ต้องการผลผลิตแบบที่ไม่แสดงอาการ ให้เห็นชัดเจน อาการของโรคมักพบในขณะที่สัตว์เกิดความเครียด ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสารอาหาร อากาศเปลี่ยนแปลง ขณะตั้งท้อง ขณะหย่านม เมื่อมีการทำงานกับตัวสัตว์ (เช่น ตัดเขา หรือจี้เขา ทำวัคซีน เจาะเลือด) โดยพบโรคนี้ได้เป็นประจำในฝูง เชื้อโปรโตซัว ได้แก่ Eimeria พบ ทั้งในแพะและแกะ และมีความจำเพาะต่อโฮสต์ เชื้อบิดจะเปลี่ยนแปลงเป็นระยะติดต่อนอกตัวโฮสต์ โดยอาศัยอุณหภูมิที่เหมาะสมและความชื้นสูง ระยะ oocyst เป็นระยะติดต่อของโรคบิด โดยเชื้อในระยะนี้สามารถอยู่ในสภาพแวดล้อมได้นานในอุณหภูมิที่แตกต่างกันได้ เป็นปี
อาการของโรคบิด
ลูกแพะและแกะ อายุตั้งแต่ 1-4 เดือน จะเป็นอายุที่อ่อนไหวต่อการติดโรค เป็นช่วงที่ทำให้เกิดโรคอย่างรุนแรงและเกิดความเสียหายต่อการผลิตสัตว์ อาการ ของโรคมักจะพบได้บ่อยในกรณีที่สัตว์เกิดอาการเครียดในช่วงหย่านม เปลี่ยนอาหาร หรือมีการเคลื่อนย้าย การเลี้ยงสัตว์ในสภาพที่แออัดที่อาจทำให้สัตว์มีการปนเปื้อนจากอุจจาระและ ปัสสาวะ ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้การเปลี่ยนแปลงของ oocyst เป็นระยะติดต่อโดยสมบูรณ์เกิดขึ้น ในกรณีนี้จะพบว่าสัตว์ติดเชื้อเป็นจำนวนมากและแสดงอาการท้องเสีย
อาการ ท้องเสียในลูกแพะและแกะ โดยปกติจะไม่พบเลือด แต่อาจจะมีมูกเลือดและถ่ายเหลว สัตว์จะแสดงอาการเบื่ออาหาร ขาดน้ำ ไม่มีแรง ขนหยาบ และอาจตายได้ อาการที่พบมักเป็นแบบเรื้อรัง สัตว์จะมีน้ำหนักตัวลดลง และมีอาการท้องเสียเป็นระยะเวลานาน อาจเกิดอาการยื่นของลำไส้ใหญ่ (rectal prolapse) ในกรณีที่โรคมีความรุนแรงมาก ลำไส้ใหญ่ส่วนปลายที่ยื่นอ อกมาอาจเกิดเนื้อตายในส่วนของเนื้อเยื่อเมือก แม้ว่าสัตว์จะได้รับยาที่เหมาะสม อาการท้องเสียจะยังคงมีอยู่จนกว่าเนื้อเยื่อลำไส้จะฟื้นตัว ซึ่งอาจใช้เวลาหลายวันจนถึงสัปดาห์ แม้ว่าสัตว์จะฟื้นตัวจากโรค แต่การเจริญเติบโตจะต่ำกว่าปกติ เนื่องจากพื้นที่ของลำไส้ที่เสียหายจากโรค ทำให้การดูดซึมอาหารลดลง
การตรวจวินิจฉัย
โรค บิดแบบเฉียบพลันสามารถตรวจวินิจฉัยได้ง่าย โดยสามารถดูจากอุจจาระที่ป้ายบนแผ่นสไลด์ตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ เนื่องจากกรณีที่เกิดโรคแบบเฉียบพลันมักจะพบเชื้อระยะ oocyst จำนวน มาก ในขณะที่ถ้าเป็นกรณีเกิดโรคแบบเรื้อรัง จะพบเชื้อในจำนวนน้อย โดยทั่ว ๆ ไปสัตว์ปกติจะสามารถตรวจพบเชื้อบิดได้ในจำนวนน้อยอยู่แล้ว การที่จะวินิจฉัยว่าสัตว์มีการติดเชื้อแบบเรื้อรังจากอุจจาระ จะต้องทำพร้อมกับการสังเกตอาการท้องเสีย และอาจจะต้องดูค่าเลือดในส่วนของค่า haematocrit และการเกิดสภาพ hypoproteinemia
การรักษา
การ รักษาสัตว์ป่วยที่มีอาการจากโรคบิด จะต้องใช้ยาฆ่าเชื้อบิดร่วมกับการให้ยาตามอาการ การรักษาควรให้ยากับสัตว์ทุกตัวในกลุ่มพร้อมกัน การใช้ยาในกลุ่ม coccidiostats ให้ผลเล็กน้อยต่อการกำจัดเชื้อโดยสมบูรณ์ แต่มีประโยชน์ในการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ โดยส่วนใหญ่ยาในกลุ่ม coccidiostats ยับยั้ง การเจริญเปลี่ยนแปลงของเชื้อบิด และสามารถใช้ป้องกันโรคได้ ยาในกลุ่มนี้จะมีประโยชน์น้อย ถ้าสัตว์ได้แสดงอาการของโรคแล้ว ยาในกลุ่ม Sulfa พบ ว่าจะมีส่วนช่วยลดอาการของโรคได้ดี แต่ไม่ค่อยมีผลต่อโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่เกิดร่วมด้วย เช่น เชื้อแบคทีเรีย เนื่องจากเชื้อบิดสามารถพัฒนาการดื้อต่อยาในกลุ่ม coccidiostat ได้ การใช้ยาในกลุ่มนี้จึงควรให้ต่อเมื่อสัตว์อยู่ในสภาพเครียด (ได้แก่ การขนส่ง การหย่านม การคลอด) ยาในกลุ่ม coccidiostats ที่ใช้ในการรักษาและป้องกันโรค coccidiosis ในแพะและแกะ
1. Lasalocid ขนาด 20-30 กรัม ต่อ ตัน (ผสมอาหาร) หรือ 0.5 – 1 มก/กก น้ำหนักตัวต่อวัน ใช้ในแกะให้ติดต่อกัน 4 สัปดาห์
2. Decoquinate ขนาด 0.5 มก ต่อ กก (น้ำหนักตัว) ต่อวัน ใช้ในการรักษาและป้องกันในแพะให้ติดต่อกัน 4 สัปดาห์
3. Monensin ขนาด 10-30 กรัม ต่อ ตัน (ผสมอาหาร) ต่อวันใช้ในการรักษาและป้องกันโรคในแพะให้ติดต่อกัน 4 สัปดาห์
4. Amprolium ขนาด 50 มก ต่อ กก (น้ำหนักตัว) ต่อวัน เป็นเวลา 21 วัน ใช้ได้ทั้งในแพะและแกะ
5. Sulfaquinoxaline ขนาด 13 มก ต่อ กก (น้ำหนักตัว) ต่อวัน หรือผสมน้ำในความเข้มข้นร้อยละ 0.015 ให้เป็นเวลา 3-5 วัน ใช้รักษาในแกะ หรือให้ติดต่อกัน 4 สัปดาห์
6. Sulfamethazine ขนาด 11- - 238 มก ต่อ กก (น้ำหนักตัว) ต่อวันในแกะและขนาด 50 กรัม ต่อ ตัน (ผสมอาหาร) ในแพะให้ ติดต่อกัน 4 สัปดาห์
7. Salinomycin ขนาด 382 กรัม ต่อ ตัน (ผสมอาหาร) ในแพะให้ติดต่อกัน 4 สัปดาห์
การควบคุมและป้องกัน
การควบคุมโรคบิดให้ได้ผลดีโดยการปรับปรุงความสะอาดร่วมกับการใช้ยาในกลุ่ม coccidiostats และมาตรการอื่น ๆ ได้แก่
(1) ป้องกันอย่าให้จำนวนสัตว์ต่อคอกหนาแน่นเกินไป ซึ่งจะทำให้สัตว์มีโอกาสได้รับเชื้อจากการปนเปื้อนในคอก
(2) เปิดให้แสงแดดส่องผ่านคอก เพื่อทำคอกให้แห้ง ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญในการฆ่าเชื้อระยะ oocyst หรือทำให้ oocyst ไม่สามารถพัฒนาต่อจนเป็นระยะติดต่อไป
(3) ลดการทำให้เกิดอาการเครียดในสัตว์ และการปรับสารอาหารที่สัตว์จะได้รับมีส่วนสำคัญของการเกิดโรค
(4) การใช้ยา coccidiostat ใน การควบคุมโรคติดต่อกัน 4 สัปดาห์ เพื่อควบคุมอาการของโรคไม่ให้แสดงอย่างเต็มที่ ในขณะเดียวกันสัตว์จะเริ่มพัฒนาภูมิคุ้มกันต่อโรคบิดขึ้นมาป้องกันตัวเอง แต่อย่างไรก็ตามเชื้อบิดมีโอกาสที่จะเกิดความต้านทานต่อยาควบคุมบิด การตรวจอุจจาระเป็นระยะ ๆ หลังจากให้ยา จะช่วยสังเกตได้ว่าเชื้อเริ่มมีการดื้อต่อยาเกิดขึ้นหรือไม่ การใช้ยาควบคุมบิดเป็นประจำตลอดทั้งปีจะทำให้ มีโอกาสเกิดการดื้อต่อยาได้เร็วขึ้น
*****************************************************************************
เชื้อบิด
ทำ อันตรายรุนแรงต่อสัตว์อายุน้อย สัตว์โตจะค่อนข้างทนทานต่อโรค ลูกแพะเสี่ยงต่อโรคโดยมักเกิดความรุนแรงในช่วงหย่านม ถ่ายเป็นมูกเลือด หรือตายโดยไม่ทันแสดงอาการให้สังเกต หรืออาจไม่มีอาการชัดเจน โดยอาจเป็นเพียงอาการโตช้า น้ำหนักลด
การรักษา
1.ให้สารน้ำชดเชยการสูญเสียน้ำ
2.ให้ยาปฏิชีวนะ
3.ให้ยาฆ่าเชื้อบิดตัวใดตัวหนึ่ง
-----sulfadimethazone 75 มก./กก. กิน 4-5 วัน,
-----sulfamethazine 1.1-2.2 กรัม/กก. กิน 4 วัน,
-----nitrofurazone 10-20 มก./กก. กิน 5-7 วัน,
-----amprolium 10-20 มก./กก. กิน 3-5 วัน,
-----Toltrazuril 20 มก./กก.กินครั้งเดียว
ยารักษาโรคบิดในแพะและการจัดการ
อาการ เป็นบิดในแพะ ถ้าแพะไม่ตายเสียก่อน แพะจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันและสามารถหายเองได้แพะจะไม่แสดงอาการท้องเสีย อีก แต่แพะตัวที่หายป่วยแล้วจะเป็นตัวการสำคัญในการแพร่กระจายเชื้อ ดังนั้นถ้าสังเกตุเห็นอาการแรกเริ่มแล้วเริ่มแยกแพะตัวสงสัยออกจะช่วยลดการ แพร่กระจายเชื้อได้
เมื่อ เริ่มมีการระบาดควรจัดการให้ฝูงแพะมีขนาดเล็กลง อาจจะแยกคอกย่อย หรือหาคอกว่างๆเพิ่มขึ้น รางน้ำรางอาหารถ้าเป็นไปได้ให้เปลี่ยนใหม่หมดเพื่อลดไม่ให้มีอุจจาระแพะปน เปื้อนและควรเป็นแบบที่แพะไม่สามารถเดินบนรางอาหารได้ การให้อาหารกับพื้นดินควรงด วัสดุปูรองต่างๆให้เปลี่ยนให้ถี่ขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มแพะเล็ก หรือแม่แพะเลี้ยงลูก อย่างไรก็ตามในกรณีที่แพะแสดงอาการรุนแรงสามารถเลือกให้ยาเพื่อการรักษาได้ใน รายที่มีอาการควรให้ยาปฎิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้ออื่นๆแทรกซ้อน ยาเคลือบลำไส้เช่น Kaolin pectin (มีขายตามร้านยาคน ถ้าจะให้ดีซื้อยกแกลลอนจะถูกกว่า) ควรให้คู่กันเพื่อลดการสูญเสียน้ำ ในรายที่เสียน้ำมากๆควรให้น้ำเกลือร่วมด้วยยา ปฎิชีวนะที่ควรเลือกใช้ควรจะเป็นกลุ่มซัลฟา เนื่องจากมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเพิ่มปริมาณเชื้อในร่างกายแพะและป้องกัน เชื้ออื่นแทรกซ้อน แล้วให้แพะมีการการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเพื่อรักษาตัวเอง แต่ยากลุ่มนี้มีการใช้มานานกว่า50ปีแล้วบางกรณีเชื้ออาจมีการดื้อยา การเลือกใช้ยาร่วมกันระหว่างกลุ่มซัลฟา(เช่น sulfamethazine, sulfaquinoxaline) กับionophores(เช่นmonensin, lasalocid) อาจจะให้ผลดีกว่าแต่ ในความเป็นจริงยากลุ่มionophores(เช่นmonensin, lasalocid) มี ราคาค่อนข้างแพงเผลอๆ บ้านเราไม่มีขายด้วย การใช้ยาซัลฟาคุณภาพดีและใช้ต่อเนื่องกันแบบครบโด๊ส ก็พอช่วยได้บ้าง มียาอีกกลุ่มหนึ่งที่มีการใช้ควบคุมบิดในไก่เช่น Amprolium ก็พอใช้ได้เป็นแบบละลายน้ำ(แต่ปัจจุบันรู้สึกว่าจะไม่มีขายในบ้านเรามา 5-6ปีแล้ว) ยากลุ่มที่พอมีขายในบ้านเราและพอใช้ได้ คือ Toltrazurilแต่ราคาแพงมาก แนะนำใช้ในลูกแพะเ หมาะสำหรับฟาร์มที่ขายพันธ์ โดสที่ใช้ 25มก/กก ถ้าใช้แบบ 2.5% ก็ประมาณ 1ซีซี/ กก ถ้าจะให้ดีควรให้กับลูกแพะอายุประมาณ2สัปดาห์
กรณีศึกษาโรคบิดในแพะและแกะที่สารสินฟาร์ม
รักษาดังนี้
1.ทำความสะอาดโรงเรือน
2.ใช้ยาแก้บิดที่ใช้กับคน
ปัญหาที่สารสินฟาร์มเกิดจาก
1.แพะดื่มน้ำไม่สะอาด
2.เกิดจากความเครียด(อยู่กันอย่างแออัด)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)