วันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2552

โรคบิดในแพะและแกะ (Coccidiosis of Goats and Sheep)

โรคบิดในแพะและแกะ (Coccidiosis of Goats and Sheep)

สาเหตุของโรค : เกิดจากเชื้อโปรโตซัว Eimeria

การติดต่อของโรค

เชื้อบิด (coccidian) เป็นโปรโตซัวที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียได้เป็นประจำในแพะและแกะ โดยเฉพาะในสัตว์ที่อายุน้อยจะมีง่ายต่อการติดโรคและเกิดอาการรุนแรง โรค บิดอาจเป็นสาเหตุของความสูญเสียในสัตว์ที่ต้องการผลผลิตแบบที่ไม่แสดงอาการ ให้เห็นชัดเจน อาการของโรคมักพบในขณะที่สัตว์เกิดความเครียด ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสารอาหาร อากาศเปลี่ยนแปลง ขณะตั้งท้อง ขณะหย่านม เมื่อมีการทำงานกับตัวสัตว์ (เช่น ตัดเขา หรือจี้เขา ทำวัคซีน เจาะเลือด) โดยพบโรคนี้ได้เป็นประจำในฝูง เชื้อโปรโตซัว ได้แก่ Eimeria พบ ทั้งในแพะและแกะ และมีความจำเพาะต่อโฮสต์ เชื้อบิดจะเปลี่ยนแปลงเป็นระยะติดต่อนอกตัวโฮสต์ โดยอาศัยอุณหภูมิที่เหมาะสมและความชื้นสูง ระยะ oocyst เป็นระยะติดต่อของโรคบิด โดยเชื้อในระยะนี้สามารถอยู่ในสภาพแวดล้อมได้นานในอุณหภูมิที่แตกต่างกันได้ เป็นปี

อาการของโรคบิด
ลูกแพะและแกะ อายุตั้งแต่ 1-4 เดือน จะเป็นอายุที่อ่อนไหวต่อการติดโรค เป็นช่วงที่ทำให้เกิดโรคอย่างรุนแรงและเกิดความเสียหายต่อการผลิตสัตว์ อาการ ของโรคมักจะพบได้บ่อยในกรณีที่สัตว์เกิดอาการเครียดในช่วงหย่านม เปลี่ยนอาหาร หรือมีการเคลื่อนย้าย การเลี้ยงสัตว์ในสภาพที่แออัดที่อาจทำให้สัตว์มีการปนเปื้อนจากอุจจาระและ ปัสสาวะ ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้การเปลี่ยนแปลงของ oocyst เป็นระยะติดต่อโดยสมบูรณ์เกิดขึ้น ในกรณีนี้จะพบว่าสัตว์ติดเชื้อเป็นจำนวนมากและแสดงอาการท้องเสีย

อาการ ท้องเสียในลูกแพะและแกะ โดยปกติจะไม่พบเลือด แต่อาจจะมีมูกเลือดและถ่ายเหลว สัตว์จะแสดงอาการเบื่ออาหาร ขาดน้ำ ไม่มีแรง ขนหยาบ และอาจตายได้ อาการที่พบมักเป็นแบบเรื้อรัง สัตว์จะมีน้ำหนักตัวลดลง และมีอาการท้องเสียเป็นระยะเวลานาน อาจเกิดอาการยื่นของลำไส้ใหญ่ (rectal prolapse) ในกรณีที่โรคมีความรุนแรงมาก ลำไส้ใหญ่ส่วนปลายที่ยื่นอ อกมาอาจเกิดเนื้อตายในส่วนของเนื้อเยื่อเมือก แม้ว่าสัตว์จะได้รับยาที่เหมาะสม อาการท้องเสียจะยังคงมีอยู่จนกว่าเนื้อเยื่อลำไส้จะฟื้นตัว ซึ่งอาจใช้เวลาหลายวันจนถึงสัปดาห์ แม้ว่าสัตว์จะฟื้นตัวจากโรค แต่การเจริญเติบโตจะต่ำกว่าปกติ เนื่องจากพื้นที่ของลำไส้ที่เสียหายจากโรค ทำให้การดูดซึมอาหารลดลง


การตรวจวินิจฉัย
โรค บิดแบบเฉียบพลันสามารถตรวจวินิจฉัยได้ง่าย โดยสามารถดูจากอุจจาระที่ป้ายบนแผ่นสไลด์ตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ เนื่องจากกรณีที่เกิดโรคแบบเฉียบพลันมักจะพบเชื้อระยะ oocyst จำนวน มาก ในขณะที่ถ้าเป็นกรณีเกิดโรคแบบเรื้อรัง จะพบเชื้อในจำนวนน้อย โดยทั่ว ๆ ไปสัตว์ปกติจะสามารถตรวจพบเชื้อบิดได้ในจำนวนน้อยอยู่แล้ว การที่จะวินิจฉัยว่าสัตว์มีการติดเชื้อแบบเรื้อรังจากอุจจาระ จะต้องทำพร้อมกับการสังเกตอาการท้องเสีย และอาจจะต้องดูค่าเลือดในส่วนของค่า haematocrit และการเกิดสภาพ hypoproteinemia

การรักษา
การ รักษาสัตว์ป่วยที่มีอาการจากโรคบิด จะต้องใช้ยาฆ่าเชื้อบิดร่วมกับการให้ยาตามอาการ การรักษาควรให้ยากับสัตว์ทุกตัวในกลุ่มพร้อมกัน การใช้ยาในกลุ่ม coccidiostats ให้ผลเล็กน้อยต่อการกำจัดเชื้อโดยสมบูรณ์ แต่มีประโยชน์ในการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ โดยส่วนใหญ่ยาในกลุ่ม coccidiostats ยับยั้ง การเจริญเปลี่ยนแปลงของเชื้อบิด และสามารถใช้ป้องกันโรคได้ ยาในกลุ่มนี้จะมีประโยชน์น้อย ถ้าสัตว์ได้แสดงอาการของโรคแล้ว ยาในกลุ่ม Sulfa พบ ว่าจะมีส่วนช่วยลดอาการของโรคได้ดี แต่ไม่ค่อยมีผลต่อโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่เกิดร่วมด้วย เช่น เชื้อแบคทีเรีย เนื่องจากเชื้อบิดสามารถพัฒนาการดื้อต่อยาในกลุ่ม coccidiostat ได้ การใช้ยาในกลุ่มนี้จึงควรให้ต่อเมื่อสัตว์อยู่ในสภาพเครียด (ได้แก่ การขนส่ง การหย่านม การคลอด) ยาในกลุ่ม coccidiostats ที่ใช้ในการรักษาและป้องกันโรค coccidiosis ในแพะและแกะ

1. Lasalocid ขนาด 20-30 กรัม ต่อ ตัน (ผสมอาหาร) หรือ 0.5 – 1 มก/กก น้ำหนักตัวต่อวัน ใช้ในแกะให้ติดต่อกัน 4 สัปดาห์
2. Decoquinate ขนาด 0.5 มก ต่อ กก (น้ำหนักตัว) ต่อวัน ใช้ในการรักษาและป้องกันในแพะให้ติดต่อกัน 4 สัปดาห์
3. Monensin ขนาด 10-30 กรัม ต่อ ตัน (ผสมอาหาร) ต่อวันใช้ในการรักษาและป้องกันโรคในแพะให้ติดต่อกัน 4 สัปดาห์
4. Amprolium ขนาด 50 มก ต่อ กก (น้ำหนักตัว) ต่อวัน เป็นเวลา 21 วัน ใช้ได้ทั้งในแพะและแกะ
5. Sulfaquinoxaline ขนาด 13 มก ต่อ กก (น้ำหนักตัว) ต่อวัน หรือผสมน้ำในความเข้มข้นร้อยละ 0.015 ให้เป็นเวลา 3-5 วัน ใช้รักษาในแกะ หรือให้ติดต่อกัน 4 สัปดาห์
6. Sulfamethazine ขนาด 11- - 238 มก ต่อ กก (น้ำหนักตัว) ต่อวันในแกะและขนาด 50 กรัม ต่อ ตัน (ผสมอาหาร) ในแพะให้ ติดต่อกัน 4 สัปดาห์
7. Salinomycin ขนาด 382 กรัม ต่อ ตัน (ผสมอาหาร) ในแพะให้ติดต่อกัน 4 สัปดาห์

การควบคุมและป้องกัน
การควบคุมโรคบิดให้ได้ผลดีโดยการปรับปรุงความสะอาดร่วมกับการใช้ยาในกลุ่ม coccidiostats และมาตรการอื่น ๆ ได้แก่

(1) ป้องกันอย่าให้จำนวนสัตว์ต่อคอกหนาแน่นเกินไป ซึ่งจะทำให้สัตว์มีโอกาสได้รับเชื้อจากการปนเปื้อนในคอก
(2) เปิดให้แสงแดดส่องผ่านคอก เพื่อทำคอกให้แห้ง ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญในการฆ่าเชื้อระยะ oocyst หรือทำให้ oocyst ไม่สามารถพัฒนาต่อจนเป็นระยะติดต่อไป
(3) ลดการทำให้เกิดอาการเครียดในสัตว์ และการปรับสารอาหารที่สัตว์จะได้รับมีส่วนสำคัญของการเกิดโรค
(4) การใช้ยา coccidiostat ใน การควบคุมโรคติดต่อกัน 4 สัปดาห์ เพื่อควบคุมอาการของโรคไม่ให้แสดงอย่างเต็มที่ ในขณะเดียวกันสัตว์จะเริ่มพัฒนาภูมิคุ้มกันต่อโรคบิดขึ้นมาป้องกันตัวเอง แต่อย่างไรก็ตามเชื้อบิดมีโอกาสที่จะเกิดความต้านทานต่อยาควบคุมบิด การตรวจอุจจาระเป็นระยะ ๆ หลังจากให้ยา จะช่วยสังเกตได้ว่าเชื้อเริ่มมีการดื้อต่อยาเกิดขึ้นหรือไม่ การใช้ยาควบคุมบิดเป็นประจำตลอดทั้งปีจะทำให้ มีโอกาสเกิดการดื้อต่อยาได้เร็วขึ้น



*****************************************************************************

เชื้อบิด
ทำ อันตรายรุนแรงต่อสัตว์อายุน้อย สัตว์โตจะค่อนข้างทนทานต่อโรค ลูกแพะเสี่ยงต่อโรคโดยมักเกิดความรุนแรงในช่วงหย่านม ถ่ายเป็นมูกเลือด หรือตายโดยไม่ทันแสดงอาการให้สังเกต หรืออาจไม่มีอาการชัดเจน โดยอาจเป็นเพียงอาการโตช้า น้ำหนักลด

การรักษา
1.ให้สารน้ำชดเชยการสูญเสียน้ำ
2.ให้ยาปฏิชีวนะ
3.ให้ยาฆ่าเชื้อบิดตัวใดตัวหนึ่ง
-----sulfadimethazone 75 มก./กก. กิน 4-5 วัน,
-----sulfamethazine 1.1-2.2 กรัม/กก. กิน 4 วัน,
-----nitrofurazone 10-20 มก./กก. กิน 5-7 วัน,
-----amprolium 10-20 มก./กก. กิน 3-5 วัน,
-----Toltrazuril 20 มก./กก.กินครั้งเดียว

ยารักษาโรคบิดในแพะและการจัดการ
อาการ เป็นบิดในแพะ ถ้าแพะไม่ตายเสียก่อน แพะจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันและสามารถหายเองได้แพะจะไม่แสดงอาการท้องเสีย อีก แต่แพะตัวที่หายป่วยแล้วจะเป็นตัวการสำคัญในการแพร่กระจายเชื้อ ดังนั้นถ้าสังเกตุเห็นอาการแรกเริ่มแล้วเริ่มแยกแพะตัวสงสัยออกจะช่วยลดการ แพร่กระจายเชื้อได้

เมื่อ เริ่มมีการระบาดควรจัดการให้ฝูงแพะมีขนาดเล็กลง อาจจะแยกคอกย่อย หรือหาคอกว่างๆเพิ่มขึ้น รางน้ำรางอาหารถ้าเป็นไปได้ให้เปลี่ยนใหม่หมดเพื่อลดไม่ให้มีอุจจาระแพะปน เปื้อนและควรเป็นแบบที่แพะไม่สามารถเดินบนรางอาหารได้ การให้อาหารกับพื้นดินควรงด วัสดุปูรองต่างๆให้เปลี่ยนให้ถี่ขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มแพะเล็ก หรือแม่แพะเลี้ยงลูก อย่างไรก็ตามในกรณีที่แพะแสดงอาการรุนแรงสามารถเลือกให้ยาเพื่อการรักษาได้ใน รายที่มีอาการควรให้ยาปฎิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้ออื่นๆแทรกซ้อน ยาเคลือบลำไส้เช่น Kaolin pectin (มีขายตามร้านยาคน ถ้าจะให้ดีซื้อยกแกลลอนจะถูกกว่า) ควรให้คู่กันเพื่อลดการสูญเสียน้ำ ในรายที่เสียน้ำมากๆควรให้น้ำเกลือร่วมด้วยยา ปฎิชีวนะที่ควรเลือกใช้ควรจะเป็นกลุ่มซัลฟา เนื่องจากมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเพิ่มปริมาณเชื้อในร่างกายแพะและป้องกัน เชื้ออื่นแทรกซ้อน แล้วให้แพะมีการการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเพื่อรักษาตัวเอง แต่ยากลุ่มนี้มีการใช้มานานกว่า50ปีแล้วบางกรณีเชื้ออาจมีการดื้อยา การเลือกใช้ยาร่วมกันระหว่างกลุ่มซัลฟา(เช่น sulfamethazine, sulfaquinoxaline) กับionophores(เช่นmonensin, lasalocid) อาจจะให้ผลดีกว่าแต่ ในความเป็นจริงยากลุ่มionophores(เช่นmonensin, lasalocid) มี ราคาค่อนข้างแพงเผลอๆ บ้านเราไม่มีขายด้วย การใช้ยาซัลฟาคุณภาพดีและใช้ต่อเนื่องกันแบบครบโด๊ส ก็พอช่วยได้บ้าง มียาอีกกลุ่มหนึ่งที่มีการใช้ควบคุมบิดในไก่เช่น Amprolium ก็พอใช้ได้เป็นแบบละลายน้ำ(แต่ปัจจุบันรู้สึกว่าจะไม่มีขายในบ้านเรามา 5-6ปีแล้ว) ยากลุ่มที่พอมีขายในบ้านเราและพอใช้ได้ คือ Toltrazurilแต่ราคาแพงมาก แนะนำใช้ในลูกแพะเ หมาะสำหรับฟาร์มที่ขายพันธ์ โดสที่ใช้ 25มก/กก ถ้าใช้แบบ 2.5% ก็ประมาณ 1ซีซี/ กก ถ้าจะให้ดีควรให้กับลูกแพะอายุประมาณ2สัปดาห์



กรณีศึกษาโรคบิดในแพะและแกะที่สารสินฟาร์ม
รักษาดังนี้
1.ทำความสะอาดโรงเรือน
2.ใช้ยาแก้บิดที่ใช้กับคน


ปัญหาที่สารสินฟาร์มเกิดจาก
1.แพะดื่มน้ำไม่สะอาด
2.เกิดจากความเครียด(อยู่กันอย่างแออัด)